นายสุรพล โอภาสเสถียร ผู้จัดการใหญ่เครดิตบูโร กล่าวถึง ภาพรวมหนี้ครัวเรือนของไทยขณะนี้อยู่ที่ 15 ล้านล้านบาท หรือคิดเป็น 87% ของจีดีพี เกินระยะอันตรายของหนี้ครัวเรือนคือ85% แล้ว ขณะที่ เป้าหมายของธนาคารแห่งประเทศไทยต้องการให้หนี้ครัวเรือนอยู่ในระดับ80% ของจีดีพี ซึ่งกับดักความเป็นหนี้ของคนไทยมีสูงขึ้นในช่วงโควิด-19
ธปท.ปรับเกณฑ์คลินิกแก้หนี้ใหม่ ใครค้างชำระ120วันยื่นขอเข้าโครงการได้
หนี้ครัวเรือนแรงงานไทย แตะ 2.7 แสนบาทต่อครัวเรือน สูงสุดในรอบ 13 ปี
เมื่อรายได้ถูกช็อตไปช่วงเกิดโรคระบาด แต่หนี้ยังคงอยู่ เห็นสัญญาณความสามารถในการจ่ายหนี้น้อยลง ก็เริ่มติดกับดักความเป็นหนี้
ซื้อก่อนผ่อนที่หลัง พฤติกรรมเสี่ยงสร้างหนี้เสีย
พฤติกรรมนี้เกิดขึ้นในหลายกลุ่มของผู้มีรายได้ จนเกิดคำพูดเปรียบเปรยที่ว่า "เงินเดือนเอาไว้ใช้หนี้ โอทีเอาไว้กินใช้" แต่เมื่อเศรษฐกิจฝืดเคืองโตไม่เต็มที่ โอทีถูกตัด เงินสำหรับดำรงชีพถูกเบียดเบียน เกิดสัญญาณจ่ายหนี้ไม่ได้
เกิดมาตรการ "พักชำระหนี้" ซึ่งหมายถึง เมื่อกำหนดการจ่ายหนี้มาถึง แต่ยังไม่จ่ายโดยไม่ถือเป็นการผิดนัดชำระ แต่จะยกก้อนหนี้ไปไว้ในงวดท้ายๆ แต่ปัญหาคือ อัตราดอกเบี้ย ถูกยกไปรวมด้วย เมื่องวดสุดท้ายทบทั้งต้นและดอกเบี้ย ก็กลับสู่ ภาวะจ่ายหนี้ไม่ได้ เช่นเดิม
หนี้ในระบบเครดิตบูโรอยู่ที่ 13 ล้านล้านบาท ในจำนวน 32 ล้านคน และพบว่า9.8 แสนล้านบาท "เป็นหนี้ที่เสีย"คำพูดจาก สล็อตเว็บตรง
บางคนโดยเฉพาะกลุ่มที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ภาคบริการต่างๆ ก่อนช่วงโควิด-19 ที่ภาคการท่องเที่ยวเติบโตลูกหนี้กลุ่มนี้อยู่ในระดับเกรดเอ แต่ ณ วันนี้ กลับติดกับดักหนี้เสีย คือกลุ่มที่ต้องการความช่วยเหลือมากที่สุด โดย มีอยู่ราว 3.1 ล้านคน มูลค่าหนี้กว่า 3.3 แสนล้านบาท
เข้าใจนโยบาย "แก้หนี้" ที่พรรคการเมืองหาเสียงโดยมุ่งเน้นไปที่การ "พักหนี้" แต่ควรดูให้รอบด้าน และ ตรงกลุ่ม
นายสุรพล ขยายความคำว่า "พักหนี้" หรือ "พักการชำระหนี้" คือ เมื่อหนีถึงกำหนดแต่ยังไม่ต้องจ่าย ก็ไม่ถือว่ามีความผิด แต่ต้องไปดูในรายละเอียดด้วยว่า เมื่อพักแล้ว เจ้าหนี้จะจัดการกับก้อนหนี้อย่างไร ดอกเบี้ยจะเป็นอย่างไร ตรงนี้ต้องวางมาตรการให้ชัดเจนและมีความประณีต หรือกรณีที่ แช่แข็งหนี้ โดยที่หยุดดอกเบี้ยไว้ แล้วในส่วนของดอกเบี้ยเงินฝากต้องคำนึงถึงฝั่งผู้ฝากเงินด้วย
สถาบันการเงินทุกที่ตั้งอยู่บน ความไว้เนื้อเชื่อใจ ผู้ฝากเงินก็มองอยู่ทุกวันว่าคนกลางรับฝากเงินทำอะไรกับเงินเขา แม้จะได้ยินอยู่ตลอดว่าคนเข้าถึงระบบสินเชื่อยากแต่การแก้ต้องประณีตพอสมควร สุ่มเสี่ยงมากไปก็ไม่ดีเพราะฉะนั้น นโยบายที่อยากเห็นคือพุ่งเป้าที่แต่ละกลุ่ม เช่น กลุ่มที่มีหนี้เสียเพราะโควิด-19 ต้องการวัคซีนไปช่วย แต่เวลาทำอะไรก็ตาม ต้องดูเจ้าของเงิน ซึ่งคือ ผู้ฝากเงินเช่นกัน
กลาง Big DATA เครดิตบูโร เกี่ยวกับการจับจ่ายใช้สอย ของคนไทย
จำนวนผู้ที่อยู่ในระบบเครดิตบูโรมีจำนวน 32 ล้านคน กับอีก4 แสนบริษัท มูลค่าราว 7-8 ล้านล้านบาท คลอบคลุม 126 สถาบันการเงิน เช่าซื้อ นาโนไฟแนนซ์ พิโกไฟแนนซ์ ซึ่งพบว่า
- กลุ่มเจน z (อายุ 20-22 ปี) มียอดหนี้ 1.8 แสนล้านบาท เป็นหนี้เสียแล้ว 1.1 หมื่นล้านบาท
- กลุ่มเจน X มียอดหนี้ 5.6 ล้านล้านบาท เป็นหนี้เสียแล้ว 3.4 แสนล้านบาท
- กลุ่มเจน Y กู้ มียอดหนี้ 4.1 ล้านล้านบาท เป็นหนี้เสียแล้ว 2.7 แสนล้านบาท
- กลุ่มเบบี้บูมเมอร์ มียอดหนี้ 1.3 ล้านล้าน เป็นหนี้เสียแล้ว 9 หมื่นล้าน
ยอมรับกังวลหนี้เกษตรกรซึ่งอยู่ในระบบเครดิตบูโร จำนวน 1 ล้านล้านบาท พบว่า ลูกหนี้ที่เป็นเจ้าของหนี้ 47% (4.7 แสนล้านบาท) เป็นลูกหนี้อายุ 55 ขึ้นไป นอกจากนั้น ยังมีหนี้ที่เรียกว่า หนี้อกตัญญู คือ ลูกหลานก่อหนี้พ่อแม่เอาที่ดิน เอาบ้านไปกู้เพื่อเคลียร์หนี้ให้ลูก