หากพูดถึง ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) หรือธนาคารกลางของประเทศ ซึ่งปัจจุบันดร.เศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ นั่งเป็นผู้ว่าการ ธปท. คนที่ 24 มี ธนาคารแห่งประเทศไทย มีบทบาทหน้าที่หลักในการบริหารจัดการให้ระบบเศรษฐกิจและการเงินของประเทศดำเนินไปด้วยความเรียบร้อย ซึ่งจะช่วยสนับสนุนให้เศรษฐกิจของประเทศเติบโตได้อย่างมีเสถียรภาพและยั่งยืน

ซึ่งการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศที่ส่งผลต่อความกินดีอยู่ดีอย่างยั่งยืนของประชาชนนั้น นั้นขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย

รวมถึง การบริหารจัดการระบบเศรษฐกิจการเงินของประเทศที่ดี ซึ่งตามพระราชบัญญัติธนาคารแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2485 ที่แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2551 กำหนดให้ธนาคารแห่งประเทศไทยทำหน้าที่ในการรักษาเสถียรภาพของระบบเศรษฐกิจการเงิน 9 ด้านดังนี้

1.ออกและจัดการธนบัตรและบัตรธนาคาร ซึ่งจะมีการบริหารงานกึ่งอิสระภายใต้การกำกับดูแลของ ธปท.และคณะกรรมการสายออกบัตรธนาคาร (กอบ.)​ ซึ่งทำหน้าที่ควบคุมดูแล รวมทั้งกำหนดระเบียบต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการบริหารงาน ประกอบด้วย ส่วนงานหลัก 3 ฝ่าย คือ

  1. โรงพิมพ์ธนบัตร มีหน้าที่ออกแบบ จัดพิมพ์ธนบัตร บัตรธนาคาร และสิ่งพิมพ์อื่นที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด โดยความเห็นชอบของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
  2. ฝ่ายบริหารจัดการธนบัตร​ มีหน้าที่ออกใช้และจัดการให้ธนบัตรคุณภาพดีกระจายสู่ประชาชนอย่างทั่วถึงและเพียงพอต่อความต้องการ
  3. ฝ่ายกลยุทธ์และบริหารกิจการธนบัตร​ มีหน้าที่วางแผนและควบคุมการจัดการธนบัตร วางแผนกลยุทธ์ ดูแลงบประมาณประจำปี งานประชาสัมพันธ์ และงานอื่น ๆ เพื่อสนับสนุนให้การดำเนินงานของสายออกบัตรธนาคารบรรลุตามวัตถุประสงค์

โดยมีส่วนที่ข้องเกี่ยวกับสายออกบัตรธนาคาร เช่น การออกใช้ธนบัตร โรงพิมพ์ เป็นต้น

2.การกำหนดนโยบายการเงิน ซึ่งเป็นหน้าที่หลักของธนาคารกลางทุกแห่ง โดยในปี 2567 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยในฐานะประธานคณะกรรมการนโยบายการเงินได้ตกลงร่วมกัน เช่นการกำหนดเป้าหมายของนโยบายการเงินสำหรับระยะปานกลางและเป้าหมายสำหรับปี 2567การหารือร่วมกันเพื่อให้บรรลุเป้าหมายนโยบายการเงินกระทรวงการคลังและธนาคารแห่งประเทศไทย รวมถึงข้อตกลงในการออกจดหมายเปิดผนึกของ กนง. ถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง หากอัตราเงินเฟ้อทั่วไปเคลื่อนไหวออกนอกกรอบเป้าหมายนโยบายการเงิน และข้อตกลงในการแก้ไขเป้าหมายนโยบายการเงินหากมีเหตุจำเป็น ในกรณีที่มีเหตุอันสมควรหรือจำเป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และ กนง. อาจตกลงร่วมกันเพื่อแก้ไขเป้าหมายของนโยบายการเงินได้ก่อนนำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณา

ทั้งนี้ ธปท. ได้กำหนดกรอบการดำเนิ​นนโยบายการเงิน (Monetary Operations Framework) ที่ประกอบไปด้วยเครื่องมือนโยบายการเงิน (Monetary Policy Instruments) ประเภทต่างๆ เพื่อใช้ในการดูแลรักษาระดับอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นในตลาดเงินให้สอดคล้องกับอัตราดอกเบี้ยนโยบาย

ขณะเดียวกันคณะกรรมการนโยบายการเงิน ประชุมหารือเพื่อประเมินสถานการณ์ทางเศรษฐกิจการเงินและร่วมกันพิจารณากำหนดนโยบายการเงินปีละ 6 ครั้ง โดยประกาศตารางการประชุมล่วงหน้าในแต่ละปี และ กนง. สามารถประชุมนัดพิเศษเพิ่มเติมได้หากจำเป็น

ส่วนบทบาทหน้าที่อื่นๆ คือ

3.บริหารจัดการทรัพย์สินของ ธปท.

4.เป็นนายธนาคารแหละนายทะเบียนหลักทรัพย์ของรัฐบาล

5.เป็นนายธนาคารของสถาบันการเงิน

6.จัดตั้งหรือสนับสนุนการจัดตั้งระบบการชำระเงิน

7.กำกับและตรวจสอบสถาบันการเงินเช่น กำหนดกลยุทธ์การพัฒนาระบบสถาบันการเงิน และนโยบาย หลักเกณฑ์ รวมถึงกำกับตรวจสอบการดำเนินงาน และการบริหารความเสี่ยงของสถาบันการเงินและผู้ให้บริการทางการเงิน เพื่อให้ระบบสถาบันการเงินมีประสิทธิภาพ ฐานะมั่นคง สนับสนุนการขยายตัวทางเศรษฐกิจได้อย่างมีเสถียรภาพ

8.บริหารจัดการอัตราแลกเปลี่ยนเงิน รวมทั้งบริหารจัดการสินทรัพย์ในทุนสำรองเงินตรา

และ 9 ควบคุมการแลกเปลี่ยนเงินคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง

นอกจากนี้ ธปทคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง. จะต้องรักษาเสถียรภาพระบบการเงิน และการรักษาความมั่นคงของระบบการเงินเพื่อทำหน้าที่เป็นตัวกลางใน การดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพราะระบบการเงินที่มีเสถียรภาพมีความสำคัญ เพราะหากขาดเสถียรภาพอาจสามารถลุกลามเป็นวิกฤตการเงิน (financial crisis) ที่ส่งผลกระทบรุนแรงต่อเศรษฐกิจ และความเป็นอยู่ของประชาชน

เสถียรภาพระบบการเงินคือ ระบบการเงินที่สามารถให้บริการทางการเงินได้อย่างราบรื่นและทนทานต่อแรงกดดันจากปัจจัยไม่คาดฝันต่าง ๆ ได้ดี

ภายใต้สถานการณ์ที่สร้างผลกระทบต่อเศรษฐกิจอย่างรุนแรง ธปท. เข้ามาช่วยดูแลให้ระบบเศรษฐกิจการเงินยังคงดำเนินต่อไปได้เพื่อให้เศรษฐกิจไทยฟื้นตัวและเติบโตได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนในระยะยาว โดยเป็นการดำเนินงานนอกเหนือจากหน้าที่หลักของ ธปท.

อย่างไรก็ตาม ธปท. ยังสามารถออกมาตรการพิเศษภายใต้สถานการณ์ที่สร้างผลกระทบต่อเศรษฐกิจอย่างรุนแรง ธปท. เข้ามาช่วยดูแลให้ระบบเศรษฐกิจการเงินยังคงดำเนินต่อไปได้ เพื่อให้เศรษฐกิจไทยฟื้นตัวและเติบโตได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนในระยะยาว โดยเป็นการดำเนินงานนอกเหนือจากหน้าที่หลักของ ธปท.

ที่มา : ธนาคารแห่งประเทศไทย

By admin